แนวคิดและทักษะที่สำคัญสำหรับครูต่อเด็ก Gen Z

Generation Z คือ เด็กที่เกิดหลังปี 2000 ซึ่งเป็นยุคแห่งเทคโนโลยี เกิดมาท่ามกลางความสะดวกสบาย เด็ก Gen Z จึงติดสบาย รอคอยไม่ค่อยเป็น เพราะทุกอย่างรอบตัวรวดเร็วไปหมด อยากรู้หรืออยากได้อะไรก็ได้ทันใจ เด็กยุคนี้จะกล้าแสดงออก ชอบตั้งคำถาม และเป็นตัวของตัวเองมาก ลักษณะที่โดดเด่นเกิดมาพร้อมกับสังคม internet โดยแท้จริง เกิดจากพ่อแม่รุ่นใหม่อย่าง Gen X  การดำเนินชีวิตแบบมีการติดต่อสื่อสารไร้สาย และสื่อบันเทิงที่คุ้นเคยต่างๆ อย่าง DVD, WWW, MSN, มือถือ, YouTube เรียกได้ว่าเป็นเด็กที่เกิดจากสังคม digital เลยก็ว่าได้ Digital Native ซึ่งต่างจาก Gen Y ที่สมัยนั้นสื่อ digital ยังเป็นอะไรที่ไกลเกินเอื้อมและ internet ยังไม่ใช่สิ่งที่อยู่ในระยะเอื้อมถึง Gen Z เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีเหล่านี้ บางครั้งเด็กเหล่านี้อาจจะจิตนาการไม่ออกว่า โลกที่ไร้ internet นั้นเป็นอย่างไร
ความต้องการของคนยุคใหม่โดยทั่วไป Gen  Z ยุคนี้เป็นโลกแห่งเทคโนโลยี ข้อมูลหาได้ไม่ยาก และเด็กจะเคยชินกับการหาคำตอบของทุกอย่างได้ เด็กโตมาพร้อมกับการอ่านคอมเม้นท์มากมายในเฟสบุ๊ค เขาจะยอมรับได้กับความเห็นจากคนอื่น และก็ต้องการให้คนอื่นเข้ามาสนใจและให้ความเห็นเกี่ยวกับเขาด้วย การศึกษาที่สอนเรื่องกฎระเบียบมากขึ้น เด็กก็จะคาดหวังให้ทุกอย่างมีระเบียบ และคุณก็ต้องทำตามกฎด้วยนะคะ เพื่อให้ลูกเคารพคุณมากขึ้น กระแสเทคโนโลยีในปัจจุบันทาให้วิถีการดารงชีวิตเปลี่ยนแปลงไป เกิดการแข่งขันทางปัญญา โดยการใช้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ใหม่ ๆ ที่ทันสมัยมากขึ้น บุคคลที่มีเชี่ยวชาญในการแสวงหาความรู้ การปรับประยุกต์ใช้เครื่องมือในการแสวงหาความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ย่อมมีข้อได้เปรียบในดำเนินชีวิต ICT ก็เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพในการเรียนการสอน การพัฒนาที่ไม่หยุดนิ่งขยับเข้าใกล้ยุคศตวรรษที่ 21 ที่เป็นยุคแห่งการดำเนินชีวิตในแบบดิจิตอล ที่เราไม่สามารถปฏิเสธได้ แต่ถ้าหากเราทุกคนสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการดารงชีวิต ก็จะทาให้อยู่ในโลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างไม่อยากนัก การการรู้ไอซีทีจะทาให้บุคคลสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการค้นหาความรู้เพื่อสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ ด้วยเหตุดังกล่าวจึงมีความจาเป็นที่ต้องให้มีการพัฒนาความรู้ และทักษะความสามารถในด้านนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้ก้าวไปเป็นบุคคลในศตวรรษที่21 ได้อย่างสมบูรณ์การที่บุคคลจะเกิดการเรียนรู้นั้น จาเป็นต้องมีปัจจัยหลายอย่างมาส่งเสริมสนับสนุนครูก็เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน และการที่จะพัฒนาผู้เรียนไปให้ถึงเป้ าประสงค์ของการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ทักษะการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นสิ่งที่จาเป็นอย่างยิ่ง และครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ทักษะปฏิบัติ และเจตคติที่ดีรวมถึงสมรรถนะและความสามารถพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จาเป็นสาหรับการศึกษา การเลือกรับ เลือกปฏิเสธ การเข้าถึงความรู้ จนกระทั่งการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ โดยไม่หลงลืมคุณธรรมจริยธรรม ดังนั้นครู  จึงถือได้ว่าเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่ทุกฝ่ายให้ความสำคัญ เนื่องจากเป็นบุคลากรที่มีประสบการณ์และความรู้ แต่จะสอนเด็ก Gen Z อย่างไรนั้นครูต้องมีทักษะและแนวคิดที่สำคัญที่เข้าใจกับเด็ก Gen Z

 9  แนวคิดที่แตกต่างของเด็ก Gen Z
1. สมาร์ทโฟนเป็นอวัยวะของชาว Gen Z
โทรศัพท์มือถือ ทั้งกลุ่มสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ตถือว่าเป็นอวัยวะที่ 33 ของชาว Gen Z ต้องมีลูกเล่นหลายอย่างทั้งโทร ทั้งแชต ถ่ายรูป ฟังเพลง เล่นเกม ดูคลิป ฯลฯ ที่ตอบสนองวงจรชีวิตดิจิทัล โลกออนไลน์สำหรับชาว Gen Z ไม่ใช่โลกเสมือนแต่คือโลกความจริงอีกโลกเลยทีเดียว ฝรั่งให้ลักษณะของ Gen Z ว่า Digital in their DNA โลกดิจิทัลสำหรับคนรุ่นนี้ สำคัญยิ่งกว่าตัวเงินจริงๆ
2. Gen Z เป็นมนุษย์ข้อมูลและสถิติ
Gen Z ติดโลกออนไลน์ จึงรับข้อมูลข่าวสารมากกมายอย่างรวดเร็ว ทั้งข่าวทันโลก และวิเคราะห์สถิติเรื่องต่างๆ เพื่อคาดการณ์อนาคต ดังนั้น ชาว Gen Z จึงเป็นทั้งคนชอบตัดสินใจทำอะไรอย่างรวดเร็ว ไม่ชอบรอคอย แต่ก็เป็นคนที่กลัวอนาคตด้วย เรียนอะไรดีไม่ตกงาน อาชีพอะไรมั่นคง มีแนวโน้มว่าจะเลือกงานที่เงินดีมากกว่าที่ชอบจริงๆ ข้อมูลที่เข้าหาชาว Gen Z อาจทำให้ Gen Z เองกลายเป็นคนที่กลัวที่จะตัดสินใจเรื่องอาชีพการงานในอนาคต
3. Gen Z เชื่อมโลก เชื่อมวัฒนธรรม
คน Gen Z เปิดกว้างทางความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างมากขึ้น เพราะเพียงลัดนิ้วเดียว ก็สามารถคุยกับเพื่อนต่างชาติที่มีจากอีกซีกโลกได้ แม้ว่าจะต่างพื้นฐานวัฒนธรรมก็อาจมีความชอบความบันเทิงเดียวกัน ซึ่งการเชื่อมโลกแบบนี้ ทำให้ Gen Z มีความรู้สึกเปิดกว้างในการยอมรับความแตกต่างได้ง่ายมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะปรับทัศนคติได้ดี  ไม่แบ่งแยกชนชั้น     สีผิว ศาสนา หรือประเพณีที่แตกต่าง แต่ก็อาจจะยิ่งเทิดทูนความเป็นทุนนิยมมากขึ้น
4. Gen Z มีแนวโน้มเป็นมนุษย์หลายงาน ความอดทนต่ำ
          ชีวิตดิจิทัลที่รวดเร็วทำให้เด็กรุ่น Gen Z มีความอดทนรอคอยต่ำ ชอบทำงานหลายๆ อย่าง
พร้อมกัน ในมุมหนึ่งอาจมองว่าการทำหลายๆ อย่างพร้อมกันเป็นเรื่องดูเก่ง แต่จริงๆ การทำการบ้าน ฟังเพลง ดูทีวี แชตกับเพื่อน และคุยกับแม่ หรืออื่นๆ ไปพร้อมๆ กัน ทำให้ประสิทธิภาพในการรับรู้และการทำงานแต่ละชิ้นลดลงโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งในส่วนนี้พ่อแม่ของชาว Gen Z ต้องสอนให้เด็กรุ่นนี้มีสมาธิกับงานด้วย ที่สำคัญต้องระมัดระวังอย่าให้ติดอยู่ในโลกดิจิทัลมากนัก ไม่อย่างนั้นอาจมีปัญหาติดเทคโนโลยีอย่างอาการติดอินเทอร์เน็ต
5. Gen Z ยังต้องการความรักและความห่วงใย
แม้ Gen Z จะมี DNA เป็นรหัสดิจิทัล แต่การพูดคุยติดต่อผ่านเทคโนโลยีอย่าง facebook หรือโซเซียลมีเดียอื่นๆ ก็ยังไม่สามารถแทนที่การคุยจริงๆ ได้ แม้จะมีอิโมติคอนมากมายก็ตามแต่เรื่องบางเรื่องข้อความไม่สามารถสื่อความรู้สึกที่แท้จริงได้ และเด็กๆ ทุกคนก็ยังต้องการความเข้าใจจากผู้ใหญ่ อันเป็นพื้นฐานของมนุษย์อยู่แล้ว ยังอยากให้ผู้ใหญ่แสดงความรู้สึกห่วงใย แม้ว่าจะต้องการโลกส่วนตัวขนาดไหนก็ตาม ผู้ใหญ่ต้องปรับตัวมากที่จะยอมรับการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วของเทคโนโลยีเท่าๆ กับที่วิถีของชาว Gen Z ที่รวดเร็วเช่นกัน
6. โลกเร็ว Gen Z เร็ว
Gen Z มักเป็นคนดังที่อายุใกล้เคียงตัวเอง ที่สร้างแรงบันดาลใจได้ อย่างดารา นักร้อง นักเขียน มากกว่าฮีโร่ตัวอย่างเศรษฐีพันล้านที่ประสบความสำเร็จจากเสื่อผืนหมอนใบแบบเมื่อสามสิบก่อน เพราะเทคโนโลยีตอบสนองได้แทบทุกอย่าง ชาว Gen Z จึงคิดว่า ทำได้ทุกอย่างดังนั้นชาว Gen Z แล้ว แทบจะไม่เข้าใจในเรื่อง ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงามเท่าไหร่ ชอบที่จะประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว
7. Gen Z เป็นเจ้าหนู กล้าคิดกล้าและกล้าถาม
ชาว Gen Z ต้องการคำอธิบายมากขึ้น ต้องมีเหตุผล ต้องรู้สึกว่าได้เข้าใจกับทุกเรื่องในชีวิต อยากมีส่วนร่วมในครอบครัว ต้องการตัดสินใจชีวิตตัวเอง (แม้จะสับสนและกลัวอนาคตก็ตาม) ดังนั้นจึงกล้าคิดกล้าและกล้าถามมากขึ้นกว่าคนรุ่นก่อน
8.Gen Z หาความรู้ได้ทุกที่  
การเรียนรู้ของชาว Gen Z เน้นผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้น ถ้าสามารถจัดห้องเรียน จัดบ้านนำเอาเทคโนโลยีมาเสริมกับกิจกรรม ให้แรงจูงใจ มีการแข่งขัน มีรางวัล จะช่วยให้ชาว Gen Z กระตือรือร้นในการเรียนรู้มากขึ้น บอกเลยว่า Gen Z เกลียดการเรียนแบบบรรยายมากๆ แล้วก็ชอบข้อมูลแนวกราฟ ภาพ สถิติชัดเจน เน้นข้อมูลสั้นๆ ที่เข้าใจง่ายๆ เพราะมีแนวโน้มว่าชาว Gen Z จะเริ่มต้นจดจำข้อมูลได้ดีจากข้อมูลสั้นๆ เหล่านี้ ตามแบบฉบับโลกออนไลน์ที่ข้อมูลไหลเร็วไงล่ะ ที่สำคัญชาว Gen Z มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ดังนั้นจึงเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้อย่างไม่จำกัด
9. Gen Z กับมุมมองในการทำงาน
โดยวัยรุ่นยุคใหม่ (Young Professionals at Work) มีมุมมองการทำงานดังนี้
* กลุ่ม Generation Z ตระหนักว่าการใช้เวลากับการติดต่อสื่อสารเรื่องส่วนตัวในระหว่างชั่วโมงการทำงานถือว่าเป็นสิทธิที่พวกเขาสามารถทำได้
* กลุ่ม Generation Z มีความต้องการที่จะรักษาความสมดุลระหว่างการทำงานและโลกชีวิต วัยรุ่นยุคใหม่ต้องการใช้เวลาการสื่อสารระหว่างการทำงานกับชีวิตส่วนตัว แต่สามารถรักษาสมดุลได้ ส่วนองค์กรในฝันชอบองค์กรแนวราบ ไม่มีการจัดแบ่งตำแหน่งฝ่ายที่ยุ่งยากซับซ้อน ชอบทำงานเป็นทีมและอยู่กับคนที่อายุไล่เลี่ยกัน ได้รับFeed back ตลอดเวลาวัยรุ่นนี้มีความกระตือรือร้นและเอาใจใส่ต่องานที่ได้รับมอบหมาย แต่ทั้งนี้ พวกเขาก็ยังคงคำนึงถึงโลกชีวิตส่วนตัวของพวกเขาด้วย ดังนั้น พวกเขาจึงมองว่าการเช็ค Facebook หรือการแชต การ line ข้อความส่งหาคนอื่นๆในช่วงเวลาทำงานตลอดวัน เป็นสิทธิที่พวกเขาควรจะได้รับ

คุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21  
ความสามารถในการปฏิบัติงานครูซึ้งต้องอาศัย ทักษะความรู้ในการจัดการเรียนการที่สำคัญที่ การจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สามารถนาสิ่งทีได้รับจากกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูได้ประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ทำอย่างไรครูถึงจะสามารถสอนให้ชาว Generation Z เกิดการเรียนรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารครบตามองค์ประกอบของการรู้ จะมีวิธีการอย่างไร และสามารถใช้งานเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์และเกิด ประโยชน์สูงสุด การพัฒนาครูจึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนาการศึกษา เป็นอีกหนึ่งแรงผลัดดัน ที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ในอนาคตคุณลักษณะของครูในยุคศตวรรษที่ 21 ควรมีลักษณะดังนี้
1. Experience คือ มีประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ ใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น Internet , e-Mail
2. Extended คือ มีทักษะการค้นหาความรู้ได้ตลอดเวลา เพราะ เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต สามารถใช้ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ที่ไหนก็ได้ ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการหาความรู้ด้วยเทคโนโลยี
3. Expanded คือ การขยายผลของความรู้นั้นสู่นักเรียน ประชาชนทั่วไป และชุมชน สามารถถ่ายทอดความรู้ลง CD , VDO โทรทัศน์หรือบน Web เพื่อให้เกิดหารเพิ่มความรู้ที่เป็นประโยชน์ของบุคลากรโดยรวม    
4.Exploration คือ สามารถเลือกเนื้อหาที่ทันสมัย เอกสารอ้างอิง ค้นคว้าทั้งสาระและบันเทิง เพื่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อนำมาออกแบบการเรียนการสอน
5. Evaluation คือ เป็นนักประเมินที่ดี สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินผล
6. End-User คือ เป็นผู้ใช้ปลายทางที่ดี เช่น สามารถ Browse ไป Web Site ที่มีคุณค่าบนอินเทอร์เน็ตและเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างหลากหลาย
7. Ethics คือมีคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
8. Engagement คือ ครูที่ร่วมมือกันแลกเปลี่ยนความเห็น หาแนวร่วม เพื่อให้เกิดชุมชน เช่น การคุยกันบน Web ทำให้มีความคิดใหม่ๆ มีข้อเสนอแนะ เกิดชุมชนครูบน Web
 9. Efficient and Effective คือ ครูที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล จะต้องเป็นผู้ใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เป็นผู้ผลิต ผู้กระจาย และผู้ใช้ความรู้

เทคโนโลยีที่เหมาะกับเด็ก  Gen Z
การใช้เทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอนเหมาะกับเด็ก  Gen Z ได้แก่
1.            การใช้อินเทอร์เน็ตในการเรียนการสอน   
2.            การสอนในชั้นเรียนปกติ
2.1 มหาวิทยาลัยเสมือน (Virtual University)
2.3 ห้องเรียนเสมือน (Virtual classroom)  
3. การใช้เทคโนโลยีดาวเทียมเป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนและการเรียนการสอนโดยใช้ เทคโนโลยีการประชุมทางไกลด้วยวิดีทัศน์
4.การใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอน
4.1 การอภิปรายกลุ่ม
4.2 การส่งงานและการติดตามงาน
5. การใช้เว็บเพื่อการเรียนการสอน
5.1 ใช้เว็บทังวิชา
5.2 ใช้เว็บเสริม  
5.3 การใช้ทรัพยากรต่างๆ บนเว็บเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหา
6. การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเพื่อการเรียนการสอนและ e-Learning
7. ห้องเรียนควรเป็นห้องเรียนอัจฉริยะ (Smart Classroom)


ในยุคศตวรรษที่ 21 ครูหรืออาจารย์อาจมีบทบาทที่เปลี่ยนแปลงไป คือ ครูต้องไม่สอน
แต่ต้องออกแบบการเรียนรู้ และอำนวยความสะดวก (facilitate) การเรียนรู้ ให้นักเรียนเรียนรู้จากการเรียนแบบลงมือทำ หรือปฏิบัติแล้วการเรียนรู้ก็จะเกิดจากภายในใจและสมองของตนเอง การเรียนรู้แบบนี้เรียกว่า PBL (Project-Based Learning) และต้องพัฒนาตัวเองมีแนวคิดและทักษะที่จำเป็นในการสอนเด็กในยุคใหม่หรือ เด็ก Gen Z   
เด็ก Gen Z   มีทักษะที่ได้เรียนรู้ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย และตลอดชีวิต ทักษะที่สำคัญที่ครูควรเข้าใจอย่างลึกซึ้ง คือ 3R7C   3R ได้แก่ Reading (อ่านออก), (W)Riting (เขียนได้) และ  (A)Rithmetics (คิดเลขเป็น)  7C ได้แก่ Critical thinking & problem solving (ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา)Creativity & innovation (ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม) Cross-cultural understanding (ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์) Collaboration, teamwork & leadership (ทักษะด้านความร่วมมือการทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ) รวมทั้งการเลือกสื่อการสอนหรือสื่อออนไลน์สนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน การสร้างและออกแบบบทเรียน โดยความคิดและความต้องการของเด็ก Gen Z   เพื่อปรับการใช้งานให้เข้ากับชั้นเรียนและผู้เรียน
อ้างอิง/ขอขอบคุณ
-               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนัสนันท์ หัตถศักดิ์  (2558).  เรียนรู้และเข้าใจนักศึกษา
     ยุคใหม่...  Generation Z
-               ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มนัสนันท์ หัตถศักดิ์  (2558).  การสร้างความรู้ความเข้าใจ
     กระบวนการเรียนการสอน
-               ดร.รุ่งนภา จิตรโรจนรักษ์ (2556).  ครูควรสอนเด็กอย่างไรในศตวรรษที่ 21

-               ปิยธันว์ เบญจเทพรัศมี (2558).  สมรรถนะครูเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21

ความคิดเห็น

  1. Harrah's Hotel and Casino - Mapyro
    Find 경주 출장샵 Harrah's Hotel 오산 출장샵 and Casino, Reno, NV, United States, United States, ratings, photos, prices, expert advice, 세종특별자치 출장안마 traveler reviews 양주 출장마사지 and 부산광역 출장샵 tips, and more information.

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น